ทักษะการใช้เครื่องแก้ววัดปริมาตร

อุปกรณ์วัดปริมาตรของเหลวได้แก่ ขวดปริมาตร บิวเรตต์ ปิเปต และกระบอกตวง การอ่านปริมาตรของเหลวที่ถูกต้องในอุปกรณ์เหล่านี้ ต้องอ่านในระดับเดียวกับจุดต่ำสุดของส่วนโค้งเว้า

ตำแหน่งของระดับสายตาในการอ่านปริมาตร มีความสำคัญต่อค่าที่ได้จากการอ่านปริมาตรมากกล่าวคือ

  1. ถ้าระดับสายตาอยู่เหนือส่วนโค้งเว้าต่ำสุดของของเหลว ปริมาตรที่อ่านจะมากกว่าปริมาตรจริง
  2. ถ้าระดับสายตาอยู่ระดับเดียวกับส่วนโค้งเว้าต่ำสุดของของเหลว ปริมาตรที่อ่านจะมีค่าถูกต้อง
  3. ถ้าระดับสายตาอยู่ต่ำกว่าส่วนโค้งเว้าต่ำสุดของของเหลว ปริมาตรที่อ่านจะน้อยว่าปริมาตรจริง


ภาพที่ 3 ลักษณะการอ่านปริมาตร
ก. ปริมาตรที่อ่านได้จะมากกว่าปริมาตรจริง เนื่องจากระดับสายตาอยู่สูงกว่าส่วนโค้งเว้าต่ำสุด
ข. ปริมาตรที่อ่านได้จะเท่ากับปริมาตรจริง เนื่องจากระดับสายตาอยู่ในระดับเดียวกับส่วนโค้งเว้าต่ำสุด
ค. ปริมาตรที่อ่านได้จะน้อยกว่าปริมาตรจริง เนื่องจากระดับสายตาอยู่ต่ำกว่าส่วนโค้งเว้าต่ำสุด

ทักษะการใช้ขวดปริมาตร

ขวดปริมาตรเป็นเครื่องมือที่ใช้เตรียมสารละลายมาตรฐานหรือสารละลายที่เข้มข้นน้อยกว่าสารละลายเดิมได้ ขวดปริมาตรมีหลายขนาด เช่น ขนาด 50 มล. 100 มล. 250 มล. 500 มล. 1000 มล. 2000 มล. เป็นต้น

ภาพที่ 4 ลักษณะของขวดปริมาตร

โดยทั่วไปจะนำสารละลายนั้นละลายในบีกเกอร์ก่อนแล้วเทลงในขวดปริมาตรโดยใช้กรวยกรอง จากนั้นเติมตัวทำละลายไปให้ปริมาตรถึงขีดบอกปริมาตร การเตรียมสารละลายโดยใช้ขวดปรับปริมาตรมีเทคนิคดังนี้

  1. ละลายสารในขวดปริมาตรมีประมาณ ? ของขวด ปิดจุกแล้วหมุนขวดปริมาตรด้วยข้อมือ
  2. เติมตัวทำละลายลงในขวดปริมาตรให้ส่วนโค้งเว้าต่ำสุดอยู่ตรงขีดบอกปริมาตร การต้องอ่านระดับสายตาในระดับเดียวกัน เพื่อป้องกันการอ่านปริมาตรผิด
  3. ปิดจุกขวดปริมาตรคว่ำขวดจากด้านบนลงล่าง ทำแบบนี้ 2 – 3 ครั้ง เพื่อให้สารละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
  4. จากข้อ 3 กลับขวดปริมาตรอยู่ลักษณะเดิม จับคอขวดหมุนไปมา ? รอบ เพื่อให้สารละลายเป็นเนื้อเดียวกัน