การตรวจวัดค่าพีเอช (pH) โดยวิธีไฟฟ้า (Electrometric method)
หลักการ
การวัดพีเอช คือการวัดสภาพความเป็นกรอหรือความเป็นด่างของสารละลาย ที่มีน้ำเป็นตัวทำละลาย (Aqueous Solution) โดยวัดค่าความต่างศักย์ที่เกิดขึ้น (Potential) ระหว่างอิเล็คโทรดอ้างอิง (Reference Electrode) กับอิเล็คโทรดตรวจวัด (Sensing Electrode) ความต่างศักย์ที่เกิดขึ้นจากจำนวนของไฮโดรเจนไอออน (H+) อิเล็คโทรดจะเปลี่ยนความต่างศักย์ที่เกิดจากอิออน (lonic Potential) ให้เป็นความต่างศักย์ไฟฟ้า (Electronic Potential) แล้วขยายให้มีความต่างศักย์สูงขึ้นด้วยเครื่องวัดพีเอช (Potentiometer)
เครื่องมือและอุปกรณ์
- เครื่องวัดพีเอช
- เครื่องวัดพีเอชเป็นเครื่องมือทางไฟฟ้าที่ใช้วัดพีเอชของสารละลายโดยหลักการวัดความต่างศักย์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ อิเล็คโทรดและตัวเครื่อง
1. อิเล็คโทรดทำหน้าที่เป็นภาคตรวจรับ ในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นอิเล็คโทรดรวม (combination pH Electrode) ซึ่งออกแบบไว้ให้สะดวกในการใช้งาน โดยรวมอิเล็คโทรดอ้างอิงและอิเล็คโทรดตรวจวัดมาอยู่ด้วยกัน อิเล็คโทรดตรวจทำด้วยแก้วพิเศษที่ยอมให้ไฮโดรเจนอิออนผ่าน ส่วนใหญ่ออกแบบเป็นรูปกระปาะ ภายในบรรจุบัฟเฟอร์เอาไว้ อิเล็คโทรดอ้างอิงทำหน้าที่ให้ศักย์ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นที่ขั้วตรวจวัดเกิดครบวงจร โดย KCI ชนิดอิ่มตัวที่อยู่ในอิเล็คโทรดอ้างอิงซึมผ่านออกมาเป็น Salt bridge เชื่อมกับอิเล็คโทรดตรวจวัด
2. ตัวเครื่อง (Potentiometer) ทำหน้าที่สำคัญ 3 ประการคือ
- ปรับความต่างศักยฺให้กับอิเล็คโทรดอ้างอิงให้มีค่าความต่างศักย์เป็นศูนย์และคงที่
- แปลสัญญาณจากความต่างศักย์ของอิออนของอิเล็คโทรดให้เป็ฯความต่างศักย์ทางไฟฟ้า
- ขยายสัญญาณของความต่างศักย์ทางไฟฟ้าให้เพิ่มมากขึ้นอย่างเพียงพอให้เข็มหรือตัวเลขแสดงออกมาทางมิเตอร์
3. บีกเกอร์ ขนาด 100 มล.
4. Magnetic stirrer
สารเคมี
- สารละลายมาตรฐานพีเอช (บัฟเฟอร์)
การเตรียมสารละลายมาตรฐานพีเอช (บัฟเฟอร์) สามารถทำได้โดยดูจากตารางที่ 1 สารละลายบัฟเฟอร์เป็นสารอินทรีย์ จึงอาจเสื่อมคุณภาพเพราะการเจริญเติบโตของเชื้อราหรือจากการปนเปื้อนของสารอื่น ดังนั้นจึงมีการเตรียมไว้ใช้ใหม่ๆ เสมอ สำหรับน้ำกลั่นที่นำมาใช้เตรียมควรมีค่าสภาพการนำไฟฟ้าที่ 20 องศาเซลเซียส น้อยกว่า 2 ?mho/cm และมีพีเอชอยู่ในช่วง 5.6 6.0 สารละลายบัฟเฟอร์ควรเก็บในขวด polyethylene
วิธีวิเคราะห์
ขั้นตอนที่ 1 เปิดเครื่องวัดพีเอชโดยการกดปุ่ม On (1019778)
ขั้นตอนที่ 2 หลังจากเปิดเครื่องแล้วควรปล่อยให้เครื่องทำงานอย่างน้อย 15 นาทีก่อนใช้งาน
เลือกหมวด พีเอช
ขั้นตอนที่ 3 ตวงตัวอย่างน้ำใส่บีกเกอร์ขนาด 200 มล.
ขั้นตอนที่ 4 ฉีดล้างอิเล็คโทรดด้วยน้ำกลั่นและซับด้วยกระดาษเบาๆ
ขั้นตอนที่ 5 จุ่มอิเล็คโทรดแล้วแกว่งเบาๆ วนรอบบีกเกอร์ จนตัวเลขแสดงค่าพีเอชหยุดนิ่ง อ่านค่าและบันทึกผล
ขั้นตอนที่ 6 ฉีดล้างอิเล็คโทรดด้วยน้ำกลั่นและซับด้วยกระดาษเบาๆ ทำซ้ำ 2-3 ครั้ง เพื่อให้เกิดความแม่นยำ
ตารางที่ 1 การเตรียมสารละลายมาตรฐาน (พีเอชบัฟเฟอร์) สูตรต่างๆที่ อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส
สารละลายมาตรฐานปฐมภูมิ (primary standards) |
ค่าพีเอชที่ 25 เซลเซียส |
น้ำหนักสารเคมี (กรัม) ที่ต้องใช้ต่อน้ำกลั่น ปริมาตร 1,000 มล. |
โปแทสเซียมไฮโดรเจนตาร์เตรด (อิ่มตัว) |
3.557
6.865
7.413 9.180 10.012 1.679 12.454 |
KHC4H4O6 6.4 กรัม(A)
KH2PO4 3.388 กรัม(B) + KH2PO4 1.179 กรัม(B) + NaHCO3 2.090 กรัม + Ca(OH)2 1.5 กรัม(A) |
(A) อำนาจการละลายโดยประมาณ (B) สารเคมีแห้ง หลังจากอบความร้อนที่ 110 130 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง (C) เตรียมด้วยน้ำกลั่นที่ต้มจนเดือดและปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น (เพื่อไล่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์)