ปริมาณของแข็งละลายน้ำทั้งหมด หรือ ทีดีเอส (total dissolved solids, TDS)

หลักการ
                กรองตัวอย่างน้ำผ่านกระดาษกรอง GF/C ที่ทราบน้ำหนักตะกอนที่ติดอยู่บนกระดาษกรอง จะนำไปอบให้แห้งที่อุณหภูมิ 103-105 °ซ ทำให้เย็นแล้วชั่ง น้ำหนักที่เพิ่มคือข้ำหนักของของแข็งที่ละลายน้ำทั้งหมด หรืออางหาได้จากนำค่าของของแข็งแขวนลอยทั้งหมดมาหักออกจากค่าของแข็งทั้งหมด
ทีดีเอส หมายถึง ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ และสามารถไหลผ่านกระดาษกรองใยแก้ว เมื่อกรองประมาณของแข็งแขวนลอยออก แล้วเอาน้ำใสที่ผ่านกระดาษกรองใยแก้วไประเหยจะหาปริมาณของแข็งละลายได้ ทีดีเอสมีหน่วยเป็น มก./ลบ.ดม.

เครื่องมือและอุปกรณ์
1. ถ้วยระเหย (Evaporating dishes) ซึ่งมีความบรรจุ 100 มล. เลือใช้ข้อใดข้อหนึ่งดังนี้
-ถ้วยกระเบื้อง เส้นผ่านศูนย์กลาง 90 ซม.
-ถ้วยแพลทตินัม
2. เครื่องอังน้ำ (water bath หรือ steam bath)
3. ชุดกรอง
- กรวยบุคเนอร์ ความจุ 100 ลบ.ซม.
- ขวดกรอง
4. เครื่องชั่งอย่างละเอียดสามารถชั่งได้ถึง 0.0001 กรัม
5. โถทำแห้งพร้อมสารดูดความชื้น
6. กระดาษกรองใยแก้ว GF/C เส้นผ่าศูนย์กลาง 4.7 ซม.
7. เครื่องดูดสูญญากาศ (Suction Pump) พร้อมขวดดูดสุญญากาศ ขนาด 500-1,000 มล.
8. ตู้อบ ที่มีเครื่องควบคุมอุณหภูมิ
9. ปากคีบ

วิธีวิเคราะห์

ขั้นตอนที่ 1 นำถ้วยระเหยไปอบที่อุณหภูมิ 103 -105 0C เป็นเวลา 1 ชั่วโมง
TDSTDS

ขั้นตอนที่ 2 หลังจากอบถ้วยระเหยแล้ว ทำให้แห้งโดยนำไปใส่ในโถดูดความชื้น
TDSTDS

ขั้นตอนที่ 3 นำไปชั่ง บันทึกน้ำหนักของถ้วยละเหย
TDSTDSTDS

ขั้นตอนที่ 4 เปิดเครื่องอัง น้ำถ้วยระเหยขึ้นไปวางบนเครื่องอัง
TDSTDS

ขั้นตอนที่ 5 ตวงน้ำตัวอย่างส่วนที่ได้จากการกรองของการวิเคราะห์ของแข็งแขวนลอยปริมาตร 50 มล.ใส่ลงในถ้วยระเหย โดยค่อยๆ ริน ให้ปริมาตรน้ำเป็น 3/4 ของปริมาตรถ้วยระเหย
TDS

ขั้นตอนที่ 6 นำถ้วยระเหยที่ระเหยแห้งแล้วไปเข้าเตาอบที่อุณหภูมิ 103 -105 °ซ ใช้เวลาในการอบ 1 ชั่วโมง
TDSTDS

ขั้นตอนที่ 7 หลังจากอบเป็นเวลา 1 ชั่วโมงแล้ว นำไปทำให้แห้งในโถดูดความชื้น 30 นาที
TDSTDS

ขั้นตอนที่ 8 นำถ้วยระเหยไปชั่ง บันทึกผลน้ำหนังของถ้วยระเหยที่เปลี่ยนแปลง
TDSTDSTDS

หมายเหตุ : ให้ใช้คีมคีบ คีบจานระเหยทุกครั้งแทนการใช้มือจับ

การคำนวณ
ปริมาณของแข็งละลายทั้งหมด (มก./ล.)    =     (B - A)   x 106
                                                                       C

          A             =             น้ำหนักถ้วยระเหยอย่างเดียว
          B             =             น้ำหนักถ้วยระเหยและของแข็ง
     C             =             ปริมาตรตัวอย่างน้ำ (มล.)