ของแข็งทั้งหมด หรือ ทีเอส (total solids , TS)
หลักการ
ทีเอส หมายถึง ปริมาณของแข็งที่เหลืออยู่ในภาชนะภายหลังจากระเหยน้ำออกจากตัวอย่างน้ำจนหมด แล้วนำไปอบที่อุณหภูมิ 103 -105 °ซ จนน้ำหนักคงที่ ปล่อยให้เย็นในโถทำแห้งแล้วชั่งหาน้ำหนักของของแข็งในภาชนะนั้น จะได้ปริมาณของของแข็งหรือสารทั้งหมด มีหน่วยเป็น มก./ลบ.ดม.
เครื่องมือและอุปกรณ์
1. ถ้วยระเหย (Evaporating dishes) ซึ่งมีความบรรจุ 100 มล. เลือใช้ข้อใดข้อหนึ่งดังนี้
-ถ้วยกระเบื้อง เส้นผ่านศูนย์กลาง 90 ซม.
-ถ้วยแพลทตินัม
2. เครื่องอังน้ำ (water bath หรือ steam bath)
3. ชุดกรอง
- กรวยบุคเนอร์ ความจุ 100 ลบ.ซม.
- ขวดกรอง
4. เครื่องชั่งอย่างละเอียดสามารถชั่งได้ถึง 0.0001 กรัม
5. โถทำแห้งพร้อมสารดูดความชื้น
6. กระดาษกรองใยแก้ว GF/C เส้นผ่าศูนย์กลาง 4.7 ซม.
7. เครื่องดูดสูญญากาศ (Suction Pump) พร้อมขวดดูดสุญญากาศ ขนาด 500-1,000 มล.
8. ตู้อบ ที่มีเครื่องควบคุมอุณหภูมิ
9. ปากคีบ
การวิเคราะห์ของแข็งทั้งหมด TS
ขั้นตอนที่ 1 นำถ้วยระเหยไปอบที่อุณหภูมิ 103 -105 0C เป็นเวลา 1 ชั่วโมง
ขั้นตอนที่ 2 หลังจากอบถ้วยระเหยแล้ว ทำให้แห้งโดยนำไปใส่ในโถดูดความชื้น
ขั้นตอนที่ 3 นำไปชั่ง บันทึกน้ำหนักของถ้วยละเหย
ขั้นตอนที่ 4 เปิดเครื่องอัง น้ำถ้วยระเหยขึ้นไปวางบนเครื่องอัง
ขั้นตอนที่ 5 ตวงน้ำตัวอย่างปริมาตร 100 มล.ใส่ลงในถ้วยระเหย โดยค่อยๆ ริน ให้ปริมาตรน้ำเป็น 3/4 ของปริมาตรถ้วยระเหย
ขั้นตอนที่ 6 นำถ้วยระเหยที่ระเหยแห้งแล้วไปเข้าเตาอบที่อุณหภูมิ 103 -105 0C ใช้เวลาในการอบ
1 ชั่วโมง
ขั้นตอนที่ 7 หลังจากอบเป็นเวลา 1 ชั่วโมงแล้ว นำไปทำให้แห้งในโถดูดความชื้น 30 นาที
ขั้นตอนที่ 8 นำถ้วยระเหยไปชั่ง บันทึกผลน้ำหนังของถ้วยระเหยที่เปลี่ยนแปลง
การคำนวณ
ของแข็งทั้งหมด (มก./ล.) = (B - A) x 106
C
A = น้ำหนักถ้วยระเหยอย่างเดียว, กรัม
B = น้ำหนักถ้วยระเหยและของแข็ง, กรัม
C = ปริมาตรตัวอย่างน้ำ (มล.)